การอนุรักษ์ทางทะเลบนเกาะเต่า
ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลกสำหรับนักดำน้ำลึกและนักดำน้ำตื้น เกาะเต่ามีระบบที่ช่วยรักษาและอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลบริเวณรอบชายฝั่ง
ข้อเสนอพิเศษสำหรับสงกรานต์ | FB Messenger Inbox: https://m.me/thefunkyturtle | LINE: @thefunkyturtle | https://lin.ee/m2R5p42 | Call: 0810816116
หลักสูตรการอนุรักษ์ทะเลบนเกาะเต่า
ทะเลอันบริสุทธิ์รอบเกาะมีแนวปะการังยาวกว่า 8 กิโลเมตร และมีการอนุรักษ์ทางทะเลมากมายเพื่อช่วยปกป้องและรักษาสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล
ทีมอาสาสมัคร
นักท่องเที่ยวจำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิของน้ำและระบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ล้วนส่งผลต่อสภาพของปะการังและผลกระทบของสิ่งเหล่านี้ได้รับการดูแลจากเหล่าอาสาสมัครและชาวบ้านบนเกาะเต่า
ด้วยความริเริ่มด้านการอนุรักษ์ทางทะเลบนเกาะเต่า ที่นี่จึงเป็นสถานที่ฝึกอบรมที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุและผลกระทบของการอนุรักษ์
การอนุรักษ์ทางทะเลบนเกาะเต่าและนักท่องเที่ยว
เนื่องจากเกาะเต่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่มีผู้คนจำนวนมากลงเล่นน้ำในแต่ละวัน การจัดการและติดตามงานในด้านความพยายามอนุรักษ์ทางทะเลนี้ จึงต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังและต้องรักษาไว้
เกาะเต่ามีการจัดตั้งองค์กรเหล่าอาสาสมัครท้องถิ่น ซึ่งจัดตั้งหลักสูตรการจัดการทรัพยากรทางทะเล การริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟู รวมถึงการจัดการและติดตามผลความยั่งยืนและข้อมูลการประเมินผลในเรื่องของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
ถ้าการอนุรักษ์ทางทะเลและการสร้างความแตกต่างเป็นสิ่งที่คุณอยากจะทำ (อย่างที่ควรจะเป็น) จะทำให้เกาะเต่าเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การเที่ยวชม มีส่วนร่วมและช่วยเหลือกัน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทางทะเล
การอนุรักษ์ทางทะเลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปกป้องและรักษาระบบนิเวศทางทะเลของเรา และถือเป็นหนึ่งในประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
มหาสมุทรเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดในโลก และความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดขึ้นอยู่กับความสะอาดของทะเลโดยจะส่งผลได้ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
มหาสมุทรที่มีสุขภาพดีและการทำให้ทะเลของเรามีคุณภาพดีย่อมเป็นส่วนหนึ่งในระบบช่วยเหลือที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ต่อไปในอนาคต
การสนับสนุนมหาสมุทร
มหาสมุทรมีหน้าที่สร้างออกซิเจนประมาณครึ่งหนึ่งของที่เราหายใจเข้าไป ซึ่งโลกนี้ประกอบไปด้วยน้ำมากกว่า 97% และผลิต 1/6 ของโปรตีนสัตว์ที่เรากินเข้าไป แถมยังช่วยลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อให้สภาพอากาศหมุนเวียนถ่ายเท
ความพยายามอนุรักษ์ทางทะเลเริ่มขึ้นในปี 1960 และ 1970 เมื่อผู้คนเริ่มตระหนักถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวศทางทะเลด้วยน้ำมือมนุษย์
การอนุรักษ์ทางทะเลและการดำน้ำลึก
ในปัจจุบันมีการปรับปรุงเทคโนโลยีการดำน้ำลึกทำให้ผู้คนได้สัมผัสโลกใต้ทะเลมากขึ้นและเห็นความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัยของธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ การบันทึกเสียงของวาฬก็เริ่มเปลี่ยนการรับรู้ของคนเกี่ยวกับชีวิตสัตว์ทะเลและทำให้สัตว์ทะเลเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นสรรพสัตว์ที่มีสิทธิที่จะอยู่บนโลกมนุษย์เหมือนกับเรา
ความสำคัญของการอนุรักษ์ทางทะเลคือการจำกัดความเสียหายที่มนุษย์ก่อให้เกิดต่อระบบนิเวศให้ได้มากที่สุด รวมถึงการทำงานเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศที่ได้รับความเสียหายและรักษาสายพันธุ์ที่อ่อนแอให้แข็งแรงและสามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้
การอนุรักษ์ทางทะเลและแนวปะการัง
หนึ่งในพื้นที่สำคัญที่สามารถมองเห็นได้อยู่ในแนวปะการัง
แนวปะการังมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการอยู่รอดของระบบนิเวศทางทะเล เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ
แนวปะการังเป็นผู้ผลิตอาหาร เป็นที่ป้องกันให้สัตว์เล็กและเป็นที่พักพิงสำหรับสัตว์ทะเลหลายชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารที่จำเป็นสำหรับมนุษย์เช่นเดียวกัน
แนวปะการังเป็นสิ่งที่สำคัญทางทะเลสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (และประโยชน์ทางเศรษฐกิจ) ใช้สำหรับเป็นแหล่งของสารอาหารสำหรับผลิตภัณฑ์ยาชนิดใหม่
น่าเศร้าที่แนวปะการังจำนวนมากเริ่มเสื่อมโทรมมากขึ้น เนื่องจากผลกระทบที่มนุษย์มีต่อมหาสมุทร
การอนุรักษ์และการทำลายทางทะเล
ผลกระทบเหล่านี้เกิดจากการทำประมงเกินขนาด การทำลายล้างการตกตะกอน มลภาวะจากกิจกรรมบนชายฝั่งและการเพิ่มระดับคาร์บอนในมหาสมุทรซึ่งนำไปสู่การฟอกขาวของปะการังและน้ำที่มีความเป็นกรดมากขึ้น
ผลกระทบทั้งหมดเหล่านี้หมายความว่าอาจจะไม่มีแนวปะการังเก่าแก่ใดๆ ในโลกอีกต่อไป
แนวปะการังกำลังถูกคุกคาม
แค่เพียงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็พบว่ามีแนวปะการังมากถึง 88% ที่ได้รับการพิจารณาว่ากำลังถูกคุกคาม โดยมี 50% ที่ได้รับการระบุว่ามีความเสี่ยงสูงหรือสูงมากที่จะหายสาบสูญไปจากทะเล
การเสื่อมของแนวปะการังเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่อาศัยแนวปะการังเพื่อความอยู่รอด
การสูญเสียแนวปะการังและสิ่งมีชีวิตทางทะเลที่เกี่ยวข้องกับพวกมันมีผลกระทบอย่างมากต่อประเทศในบริเวณที่เป็นเกาะเช่น ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย
ผู้คนในสองประเทศนี้สามารถใช้ชีวิตได้นั้น ขึ้นอยู่กับระบบนิเวศแนวปะการังเพื่อเลี้ยงครอบครัวและทำมาหากิน
จำนวนปลาที่ลดลงทำให้พวกเขาใช้วิธีการจับปลาแบบทำลายล้างแบบวงกว้างเช่น การใช้ไซยาไนด์หรือไดนาไมต์ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายได้ปลาเยอะแต่เป็นการทำลายระบบนิเวศอย่างแท้จริง
ความขัดแย้งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้นี้หรือที่เรียกว่า catch-22 เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศของแนวปะการังอย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อระบบประการังถูกทำลายไปหมด ยิ่งทำให้ยากต่อการจับปลาในอนาคต
กลยุทธ์การอนุรักษ์ทางทะเลที่ประสบความสำเร็จ
เพื่อให้การอนุรักษ์ทางทะเลประสบความสำเร็จ กลยุทธ์และเทคนิคที่ใช้จะต้องรวมหลักการทางวิทยาศาสตร์ด้วย
โดยการรวมของชีววิทยาทางทะเล สมุทรศาสตร์และวิทยาศาสตร์การประมง จนถึงปัจจัยการกระทำของมนุษย์ รวมถึงความต้องการทางทรัพยากรและกฎหมายทางทะเลเศรษฐศาสตร์และนโยบายต่างๆ
พื้นที่คุ้มครองทางทะเล
ตัวอย่างของกลยุทธ์เหล่านี้สามารถเห็นในพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่ได้รับการควบคุม (MPA’s) ซึ่งจำกัดผลกระทบกิจกรรมของมนุษย์
การตกปลาอย่างยั่งยืน
ตัวอย่างการทำการประมงอย่างยั่งยืนอื่นๆ ได้แก่ การพัฒนาการทำประมงแบบยั่งยืน การใช้โควต้าในการจับปลาและการฟื้นฟูสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
พร้อมกับการศึกษาของชุมชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวในวิธีที่ถูกต้องในการดูแลที่อยู่อาศัยทางทะเล เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติมจากสิ่งที่เกิดขึ้น