แนวปะการังเทียมคืออะไร

แนวปะการังเทียมเป็นโครงสร้างใต้น้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยปกติจะสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมชีวิตทางทะเล แนวปะการังเทียมอาจทำหน้าที่ในการปรับปรุงอุทกพลศาสตร์(เรื่องเกี่ยวกับแรงจากการเคลื่อนไหวจากของเหลว) เพื่อช่วยในการป้องกันการกัดเซาะชายหาด โดยปกติแนวปะการังจะอยู่ในพื้นที่เต็มไปด้วยทราย วัตถุทึบใดๆ สามารถวางลงเพื่อสร้างแนวปะการังใหม่ได้ตราบใดที่ไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม

แนวปะการังเทียมเป็นบ้าน ที่พักพิงและความปลอดภัยสำหรับสิ่งมีชีวิตทางทะเลที่หลากหลาย และยังช่วยลดแรงกดดันให้แหล่งดำน้ำธรรมชาติซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในพื้นที่ได้รับความนิยมดำน้ำค่อนข้างสูง

www.thefunkyturtle.com coral transplants koh tao
Artificial Dive Sites Triangles Junkyard Reef

ประโยชน์ของแหล่งดำน้ำประดิษฐ์

ทำไมเราถึงต้องมีแนวปะการังเทียม

เกาะเต่าได้รับการพัฒนาและส่งเสริมแหล่งดำน้ำประดิษฐ์มาหลายปี มีแหล่งดำน้ำทางเลือกและแหล่งท่องเที่ยวใต้น้ำน่าตื่นตาสำหรับนักดำน้ำแต่ก็มีความสำคัญสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน

การสร้างแนวปะการังเทียมในทะเลให้ประโยชน์กับการผลิตทางชีวภาพ ดังนั้นจึงเป็นการช่วยเพิ่มจำนวนประชากรของปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

แนวปะการังเหล่านี้มีอำนาจที่จะดึงดูดสิ่งมีชีวิตในทะเลโดยการให้ที่พักอาศัย แนวปะการังไม่เพียงแต่เป็นที่พักพิงแต่ยังเป็นอ่างเก็บน้ำในการเจริญพันธุ์ที่มีคุณค่า

www.thefunkyturtle.com artificial dive sites on koh tao
Artificial Reef Mazu Project

ประวัติของแนวปะการังประดิษฐ์

โครงสร้างของแนวปะการังเทียมเริ่มขึ้นในสมัยโบราณ ชาวเปอร์เซียเริ่มปิดกั้นปากแม่น้ำไทกริสเพื่อป้องกันไม่ให้เรือข้าศึกเข้ามา และชาวประมงได้สร้างโครงสร้างใต้น้ำเพื่อดึงดูดปลาและเพิ่มผลผลิตปลาเป็นเวลาหลายร้อยปี

แนวปะการังประดิษฐ์ขนาดใหญ่ในรูปสามมิติถูกใส่ลงไปใต้ท้องทะเลเมื่อไม่นานมานี้ด้วยความตั้งใจที่จะปกป้องแนวปะการังธรรมชาติจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น

www.thefunkyturtle.com artificial dive site mazu project koh tao
Mazu Project Deployment Koh Tao

วิธีปรับใช้แนวปะการังเทียม

โดยทั่วไปแล้ววัตถุที่วางใต้น้ำไม่ว่าจะสร้างเองหรือมีการสร้างขึ้นจะให้พื้นผิวที่แข็งซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปจะมีสัตว์ใต้ท้องทะเลและพืชใต้น้ำเข้ามาทำรังและกลายเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมัน

เพื่อช่วยในการพัฒนาแนวปะการังที่มีเศษชิ้นเล็กๆรวมกัน โดยปกติแล้วชิ้นส่วนเหล่านี้จะหมุนวนในทรายและตายไป แต่ด้วยการรักษาความปลอดภัยชิ้นส่วนเหล่านี้โดยใช้เทคนิคที่แตกต่างกัน พวกมันมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าปล่อยให้หลุดร่วงลงไปในทะเล

ชิ้นส่วนเหล่านี้สามารถจัดการและติดตามผลได้ เมื่อเวลาผ่านไปเป็นบ้านที่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตทางทะเลและเป็นแหล่งดำน้ำทางเลือกสำหรับนักดำน้ำลึกให้ได้เพลิดเพลินขณะดำน้ำเพื่อชมสิ่งประดิษฐ์

บนเกาะเต่ามีกลุ่มสิ่งแวดล้อมหลายกลุ่มร่วมมือกับรัฐบาลไทย พวกเขาได้ทำการจมห้องน้ำ โดม โครงสัตว์เรือ รูปปั้น และวัตถุอื่นๆอีกมากมายที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างแนวปะการังเทียม ซึ่งทั้งหมดนี้ให้พื้นผิวที่ดีสำหรับปะการัง

www.thefunkyturtle.com coral restoration initiative koh tao
Junkyard Reef Artificial Dive Site

ไบโอร็อคคืออะไร

คือ การเพิ่มแร่ธาตุด้วยการใช้ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่าหินไฟโดยใช้กระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำกับโครงสร้างโลหะเพื่อทำให้หินปูนตกผลึกบนพื้นผิวของสิ่งก่อสร้างนั้น ซึ่งตัวอ่อนพลานูล่าของปะการังสามารถยึดและเติบโตได้ดีขึ้น

ไบโอร็อคหรือหินไฟของเกาะเต่าซึ่งในภาษาไทยแปลว่า “หินไฟฟ้า” เป็นโครงสร้างแนวปะการังเทียมอย่างเป็นทางการแห่งแรกบนเกาะเต่า

เทคโนโลยีไบโอร็อค

มันเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างโดมเทียมขนาดเล็กและก้อนหินล้อมรอบ เพื่อใช้โดมเป็นโครงสร้างฐานสำหรับการติดปะการังที่ถูกปลูกถ่ายแล้ว

โครงสร้างได้รับกระแสไฟฟ้าแรงต่ำผ่านสายเคเบิลใต้น้ำที่มาจากเกาะเต่า กระแสไฟฟ้านี้ช่วยให้ปะการังเติบโตขึ้นหลังจากที่มันถูกยึดติด

เมื่อเร็วๆ นี้โครงสร้าง ‘ไบโอร็อค’ อันที่สองได้มีการนำไปใช้ในอ่าวลึก

www.thefunkyturtle.com coral structures koh tao
Artificial Dive Sites Koh Tao

แหล่งดำน้ำประดิษฐ์ Junkyard Reef

แหล่งดำน้ำเทียมเริ่มใช้ในปีพ.ศ. 2552 และอยู่ห่างจากชายฝั่งของหาดแม่หาด 400 เมตร ซึ่งเป็นส่วนที่แห้งแล้งและตื้นที่สุดของหาดทราย

จากชื่อของแหล่งดำน้ำ Junkyard เป็นแนวปะการังที่ประดิษฐ์จากขยะ มีรถเก่าโครงสร้างอุโมงค์จำนวนมาก อุปกรณ์ออกกำลังกายเก่า ห้องสุขาและวัตถุอื่นๆ อีกมากมาย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการขยายอย่างมากและยังมีแผนจะนำของลงไปใต้น้ำเพื่อเพิ่มโครงสร้างอีก

บริเวณนี้ได้กลายเป็นสถานอนุบาลปะการังที่สำคัญ โดยมีโครงสร้างหลายอย่างถูกวางไว้ใต้น้ำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานอนุบาลปะการังและสิ่งมีชีวิตในทะเล

www.thefunkyturtle.com bouyancy world artificial dive site
Buoyancy World Artificial Dive Site

แหล่งดำน้ำประดิษฐ์บัวยันซี เวิลด์

เป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือกับ Save Koh Tao เพื่อสร้างแหล่งดำน้ำแห่งใหม่ทางตอนเหนือของแหล่งดำน้ำกองหินทวิน

ศูนย์ดำน้ำจำนวนมากได้รับการสร้างและบริจาคโครงสร้างเพื่อสร้างโลกของบัวยันซี เวิลด์ แนวคิดคือการสร้างพื้นที่เพื่อปรับปรุงความหลากหลายทางชีวภาพและยังเป็นสถานที่ฝึกอบรมสำหรับนักเรียนดำน้ำเพื่อช่วยควบคุมการลอยตัว โดยหลีกเลี่ยงการใช้แนวปะการังตามธรรมชาติเพื่อลดความเสียหายต่อปะการัง

บัวยันซี เวิลด์ให้ความรู้สึกเหมือนสนามเด็กเล่นใต้น้ำ

www.thefunkyturtle.com coral regeneration koh tao
Coral Restoration & Artificial Dive Sites

ซากเรือหลวงสัตกูต

เรือหลวงสัตกูตเป็นเรือเก่าของกองทัพเรือ ซึ่งตอนนี้กลายเป็นสถานที่ฝึกอบรมสำหรับหลักสูตรพิเศษในการดำน้ำค้นหาซากเรืออับปางและยังส่งเสริมให้มีสถานที่ใหม่ที่สิ่งมีชีวิตทางทะเลสามารถเจริญเติบโตได้

เรือหลวงสัตกูตเป็นเรือของกองทัพเรือไทย รวมถึงกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบริจาคให้กับเกาะเต่า เรือหลวงสัตกูตได้รับการทำความสะอาดและขจัดเอาสารพิษและวัสดุอันตรายทั้งหมดออกให้หมดก่อน แล้วหลังจากนั้นกองทัพเรือไทยจะทำการจมเรือในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ตัวเรือยาว 49 เมตรและตั้งอยู่ที่ความลึกระหว่าง 20 – 30 เมตร ทำให้เป็นแหล่งดำน้ำยอดนิยมสำหรับนักดำน้ำลึกในคอร์ส Advanced Open Water

www.thefunkyturtle.com junkyard reef artificial dive site koh tao
Junkyard Reef Artificial Dive Site Koh Tao

การติดตั้งศิลปะใต้น้ำโอเชียน ยูโทเปีย

ในปีพ.ศ. 2559 มีการติดตั้งศิลปะใต้น้ำในหาดเต่าทองที่ความลึก 12 เมตร ได้รับการออกแบบและสร้างโดยประติมากรชื่อดังระดับโลกมิสเตอร์วัล กูทาร์ด (Val Goutard)

ปะการังได้รับการปลูกถ่ายลงบนพื้นผิวของประติมากรรมและตอนนี้ได้นำสีมาใช้กับรูปปั้นทองสัมฤทธิ์เพื่อดึงดูดสิ่งมีชีวิตทางทะเลมากมาย

โครงการอื่นๆ

มีแหล่งดำน้ำประดิษฐ์อื่นๆ อีกมากมายรอบเกาะเต่าและแหล่งดำน้ำเหล่านี้ช่วยลดแรงกดดันให้แนวปะการังตามธรรมชาติ

www.thefunkyturtle.com coral transplanting koh tao
New Lease of Life for Coral

รายชื่อแหล่งดำน้ำประดิษฐ์มีดังนี้ ซากเรือ MV Trident ที่อยู่ใกล้กับเกาะฉลาม เรามีลูกบอลแนวปะการัง ซากเรือคาตามารันอับปางและแม้แต่มอเตอร์ไซค์ที่อ่าวโตนด นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างแนวปะการังประดิษฐ์ที่อ่าวลึก

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้บริจาคและวางก้อนปะการังเทียมจำนวนมากลงใต้ทะเลในสถานที่ต่างๆรอบเกาะเต่า

ก้อนอิฐคอนกรีตเหล่านี้ได้ถูกวางลงใต้น้ำทะเลในลักษณะคล้ายกับสิ่งของอื่นๆ เช่น ต้นปาล์มและปิรามิด พวกมันสามารถพบได้ที่อ่าวโตนด แหลมเทียน อ่าวเมา สวนญี่ปุ่นและแหล่งดำน้ำประดิษฐ์อื่นๆ มากมายรอบเกาะเต่า

โครงการหลายอย่างและแนวปะการังเทียมเหล่านี้ช่วยสร้างสถานที่หลบซ่อนสำหรับชีวิตใต้ทะเล พื้นผิวใหม่สำหรับปะการังเพื่อเจริญเติบโตและแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่ดึงดูดนักดำน้ำมาสำรวจ

หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งดำน้ำเทียมรอบเกาะเต่า โปรดติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

คำถามที่พบบ่อย

ประโยชน์ของแนวปะการังเทียมคืออะไร?

แนวปะการังเทียมมีประโยชน์กับปลาร้อยกว่าสายพันธุ์และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลอื่นๆ พวกมันเป็นทั้งแหล่งกำบังและที่ปกป้องพื้นที่วางไข่ของสัตว์ทะเล แนวปะการังยังเป็นพื้นที่ทางเลือกให้นักดำน้ำลึกได้สนุกกับการดำน้ำ ทั้งยังช่วยให้แนวปะการังตามธรรมชาติได้ฟื้นฟูตัวเอง

แนวปะการังเทียมทำงานอย่างไร?

แนวปะการังเทียมมักถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของปลาชนิดต่างๆและช่วยส่งเสริมสิ่งมีชีวิตทางทะเลอื่นๆ พวกมันมักจะถูกสร้างในพื้นที่ราบบนพื้นทรายที่ยังไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่นๆอาศัยอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปปลา ปะการังฟองน้ำและสิ่งมีชีวิตทางทะเลอื่นๆจะมาอาศัยอยู่ในแนวปะการังเทียมและเริ่มเติบโตในโครงสร้างของปะการังเทียม นอกจากนี้ยังมีเรือที่ถูกปลดประจำการแล้วจมลงไปใต้น้ำเพื่อกลายเป็นแนวปะการังเทียมที่ดีเช่นกัน

แนวปะการังเทียมสามารถทำอะไรได้บ้าง?

แนวปะการังเทียมจำนวนมากถูกสร้างขึ้นจากวัสดุสำหรับการใช้งานอื่นๆ เช่น เรือ รถยนต์ แท่นขุดเจาะน้ำมัน แนวปะการังเทียมอื่นๆถูกสร้างขึ้นโดยใช้คอนกรีตบล็อกเพื่อเป็นที่อยู่ของปะการัง โครงสร้างเหล็กใช้สำหรับการปลูกถ่ายปะการังบนเรือนเพาะชำ และสามารถนำไปเพิ่มแนวปะการังเทียมที่มีอยู่เดิมโดยทำจากขวดแก้วใช้แล้วตั้งไว้ในคอนกรีตเพื่อช่วยสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ให้กับปะการัง รวมถึงปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ

ทำไมแนวปะการังเทียมถึงมีความสำคัญ?

แนวปะการังเทียมมีความสำคัญต่อสุขภาพของท้องทะเล การสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาหลายร้อยสายพันธุ์รวมถึงสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลมากมาย แนวปะการังเทียมยังมีบทบาทสำคัญในการท่องเที่ยวทำให้สถานที่ต่างๆ เหมาะกับการท่องเที่ยวทางทะเล

ปะการังเทียมมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

ค่าใช้จ่ายในการสร้างแนวปะการังเทียมแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ รวมถึงขนาดและขอบเขตของแนวปะการัง วัสดุที่ใช้และเวลาที่ใช้ในการทำโครงการให้เสร็จสมบูรณ์ โครงการต่างๆ บนเกาะเต่าเช่น จังก์ยาด รีฟบนเกาะเต่ามีวิวัฒนาการมานานกว่าทศวรรษโดยอาศัยการระดมทุนผ่านการบริจาคและกิจกรรมการกุศลและได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัครหลายพันคน แนวปะการังเทียมที่ได้รับจากที่ต่างๆทั่วโลก เช่น เรือจม HMAS Adelaide นอกชายฝั่งของนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งอยู่ทางเหนือของซิดนีย์ มีค่าใช้จ่าย 8.5 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เรือบรรทุกเครื่องบิน Oriskany จมโดยกองทัพเรือสหรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายถึง 23.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่ควรพิจารณาคือใช้ในการศึกษาวิจัยเพื่อให้แน่ใจว่าผลกระทบของแนวปะการังเทียมไม่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศและสุขภาพของมนุษย์

ทำไมเราถึงมีแนวปะการังเทียม?

แนวปะการังเทียมเป็นแหล่งอาหารและที่พักพิงและแหล่งเพาะพันธุ์สำหรับสัตว์ทะเลหลายสายพันธุ์ พวกมันช่วยลดแรงกดดันจากการดำน้ำโดยเป็นแหล่งดำน้ำทางเลือกให้กับนักดำน้ำ