เรียนทำอาหารไทยบนเกาะเต่า
การทำอาหารไทยให้สีและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับอาหารชาติอื่นๆ แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างอิทธิพลของตะวันตกและตะวันออกที่มีมานานหลายศตวรรษ กุญแจสำคัญในการปรุงอาหารคือรสชาติความกลมกลืนภายในแต่ละจาน
อาหารไทยใช้การผสมผสานของรสเค็ม เปรี้ยว เผ็ดและหวานรวมกันจนเกิดความสมดุลอย่างสมบูรณ์แบบ
การทำอาหารไทยดั้งเดิมนั้นสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่ผูกพันธ์กับน้ำของผู้คนในประเทศ และอาหารทะเลยังคงมีบทบาทสำคัญในฐานะอาหารประจำชาติ
มีการใช้เนื้อที่เป็นสีแดงน้อยมากในการทำอาหารและมักจะนำมาใช้เป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับสมุนไพรและเครื่องเทศเนื่องจากอิทธิพลของพุทธศาสนาที่หลีกเลี่ยงการใช้เนื้อสัตว์ขนาดใหญ่
อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ก่อนการมาถึงของอิทธิพลจากจีน อาหารไทยส่วนใหญ่จะเป็นพวกตุ๋น อบหรือย่าง เมื่อชาวจีนมาถึงพวกเขาแนะนำชาวบ้านให้รู้จักกับการทอดหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในไม่ช้าก็เป็นที่นิยมในการเตรียมอาหาร
และยังคงเป็นอยู่ในทุกวันนี้ มีคนไทยจำนวนน้อยมากที่ยังมีเตาอบเพื่ออบขนม การทอดอาหารเป็นวิธีการปรุงอาหารที่ใช้กันทั่วไปมากที่สุด
อาหารในประเทศไทยมีส่วนผสมกันทั้งในเมนูอาหารจีนและอินเดีย แม้ว่ารสชาติของอาหารที่ปรุงในอาหารไทยนั้นมีรสชาติเข้มข้นและหลากหลายกว่าที่เห็นในการปรุงอาหารจีนโดยทั่วไป อาหารจะเบากว่า ไม่หนักเท่าอาหารอินเดีย และมีไขมันน้อยกว่า
ความแตกต่างเหล่านี้เกิดจากคนไทยใช้ความเฉลียวฉลาดของตัวเองในการเปลี่ยนแปลงสูตรอาหารเพื่อให้เข้ากับส่วนผสมที่หาได้ง่ายในประเทศไทย
ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถเห็นได้ในการทดแทนการใช้เนยกีที่ใช้ในแกงอินเดียด้วยน้ำมันมะพร้าว และการใช้สมุนไพรสดเพื่อลดเครื่องเทศที่ใช้ในแกงอินเดีย
ด้วยการเปลี่ยนจากเครื่องเทศที่มีรสจัดมาเป็นสมุนไพรสด ความร้อนที่ใช้การเคี่ยวนานแบบแกงกะหรี่อินเดียจะถูกแทนที่ด้วยแกงไทยที่ปรุงสุกร้อนๆและไวกว่า
วลี “ อาหารไทย” ถูกใช้เพื่ออธิบายอาหารเนื่องจากประเทศไทยมีอาหารตามภูมิภาคที่แตกต่างกัน 4 อย่างอันเนื่องจากสภาพภูมิอากาศและภูมิศาสตร์ของประเทศ
อิทธิพลของภูมิภาค
กว่าเครือข่ายรถไฟเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2463 การเดินทางทั่วประเทศไทยเป็นงานที่ยาวนานและยากลำบาก ดังนั้นแต่ละภูมิภาคจึงสามารถรักษาวัฒนธรรมของตนเองไว้ได้รวมถึงอาหารท้องถิ่นเช่นกัน
ในภาคเหนือของประเทศไทย อาหารมีความแตกต่างมากกับอาหารของภาคอื่นๆในประเทศ อาหารยอดนิยมของภาคอื่นจะไม่ค่อยพบได้ภาคนี้
อาหารแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของประเทศเพื่อนบ้าน ลาวและพม่า รวมถึงภูมิอากาศเย็นสบายที่ไม่เหมือนใคร เนื่องจากไม่มีอาหารทะเลในภูมิภาคนี้ อาหารมีรสเค็มน้อยและเน้นหนักไปที่รสขมและเปรี้ยวมากกว่า
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือเรียกว่า “ภาคอีสาน” เป็นพื้นที่ที่ยากจนที่สุดของประเทศไทยและยังมีนักท่องเที่ยวน้อยที่สุด
จะเป็นการต้มและย่าง
การเดินทางจะยากกว่าภูมิภาคอื่น อาหารมักจะเป็นประภทต้มหรือย่าง ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่อาหารดีต่อสุขภาพ คนท้องถิ่นที่นี่แตกต่างจากภูมิภาคในประเทศไทยซึ่งไม่ได้กินอาหารรสเผ็ดจัด
ภาคกลางของประเทศไทยซึ่งรวมถึงกรุงเทพฯ เป็นภูมิภาคที่มีเอกลักษณ์มากที่สุดและได้รับอิทธิพลจากพื้นที่โดยรอบทั้งหมด อาหารสามารถดัดแปลงโดยพ่อครัว โดยดูจากความพร้อมของวัตถุดิบ รสชาติอาหารจะเป็นรสกลางๆ ไม่จัดมาก
ในภาคใต้คุณจะพบแกงรสชาติเผ็ด และสลัดที่มักนึกถึงเมื่อพูดถึงอาหารไทย อาหารทะเลเป็นแหล่งของโปรตีนและนำมาใช้ในภูมิภาคนี้เนื่องจากอยู่ใกล้กับทะเล อาหารรสชาติเค็มกว่า และเผ็ดกว่าอาหารภาคอื่นๆของประเทศ
แกงของภาคใต้มีลักษณะข้นกว่าอาหารภาคเหนือเนื่องจากการใช้กะทิ และได้รับอิทธิพลอาหารมาจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย
แม้จะมีความแตกต่างของอาหารในแต่ละภูมิภาค แต่คนไทยก็เพลิดเพลินกับอาหารเหมือนกันไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน การมีความสุขกับมื้ออาหารเป็นสไตล์ทุกคน ที่แต่ละคนกินข้าวเพื่อเป็นอาหารหลักในมื้อ
ข้าวเป็นธัญพืชหลักในประเทศไทยและเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของมื้ออาหาร คำว่า “ข้าว” ในภาษาไทยเป็นคำเดียวกับคำว่า “อาหาร”ดังนั้นเมื่อคุณบอกว่า “กินข้าว” หมายถึงคุณก็กำลังพูดว่า “กินอาหาร”
ประเภทของอาหาร
อาหารส่วนใหญ่จะรวมถึงซุป แกงกะหรี่ จานนึ่ง จานทอด จานผัดและน้ำพริกใช้จุ่มเพื่อเพลิดเพลินกับผัก อาหารทุกจานจะถูกเสิร์ฟในเวลาเดียวกันทำให้อาหารเผ็ดสมดุลกับอาหารจานอื่น
ไม่มีตัวเลือกของอาหารเช้า อาหารเที่ยงและอาหารเย็นที่พบได้ในฝั่งตะวันตกของโลก อาหารทุกจานกินอร่อยได้ทั้งวัน
ขนาดของอาหารไทยมีขนาดเล็กกว่าอาหารในเมนูตะวันตก ทำให้ผู้คนสามารถรับประทานอาหารมื้อย่อยได้ตลอดทั้งวัน
ส่วนผสมสำคัญ
มีส่วนผสมหลายอย่างที่จำเป็นต่อการปรุงอาหารไทย เช่นข่า กระเทียม ผักชี ตะไคร้ มะขาม มะกรูด มะนาว น้ำตาลปี๊บ กะปิ ซีอิ๊วขาว ซอสหอยนางรมและน้ำปลาเป็นวัตถุดิบพื้นฐานในการปรุงรสอาหารที่สำคัญ
การทำอาหารไทยยังใช้พริกหลายประเภทเพื่อให้รสเผ็ดในระดับที่แตกต่างกันซึ่งสามารถพบได้ในอาหารไทย
ที่น่าสนใจคือพริกไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอาหารไทยดั้งเดิม นำเข้ามาในไทยช่วงปลายปีค.ศ. 1600 โดยอาจารย์สอนศาสนาชาวโปรตุเกสผู้ซึ่งได้ลิ้มรสพริกจากในอเมริกาใต้และได้แนะนำให้คนไทยได้ชิม
ก่อนจะรู้จักพริก มีการเพิ่มความเผ็ดให้อาหารโดยใช้พริกไทยดำ พริกมี 5 ประเภทหลักที่ใช้ในการปรุงอาหารไทย:
-
พริกขี้หนูสวน
รู้จักกันในชื่อ“ พริกขี้หนูสวน” คือพริกที่มีขนาดเล็กกว่าแต่เผ็ดกว่าพริกประเภทอื่น
-
พริกขี้หนู
เป็นที่รู้จักในฐานะ“ พริกขี้หนู” ซึ่งเป็นหนึ่งในพริกที่มีการใช้มากที่สุดในการปรุงอาหารไทย ใช้เป็นวัตถุดิบในต้มยำ ส้มตำและแกงเขียวหวาน
พริกเป็นสีเขียวเมื่อสุกเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง สีเขียวที่ไม่สุกนั้นมักใช้ทำน้ำพริก
-
พริกชี้ฟ้า
ด้วยชื่อที่แปลว่า “พริกชี้ฟ้า” พริกเหล่านี้มีทั้งสีเขียวและสีแดง สีแดงเข้มขึ้นเมื่อพริกแห้งและเป็นสีแดงของแกงเผ็ด
พวกมันมีรสเผ็ดน้อยกว่าพริกชนิดอื่นๆ เล็กน้อย มักใช้ตกแต่งหรือเติมในแกงให้เป็นผัก
-
พริกหยวก
พริกชีฟ้ามีขนาดใหญ่มากและมีสีเขียว ต้องใช้ถึงห้าเม็ดถึงจะมีรสเผ็ด ใช้เป็นผักมากกว่าและสามารถใส่ในอาหารผัดหรือทอด
-
พริกแห้ง
พริกแห้งซึ่งมีสีแดงเข้มและสามารถบดเพื่อใช้ใส่ในน้ำพริกพริกหรือในน้ำจิ้ม มีการเสิร์ฟพริกแห้งทอดกับอาหารบางชนิด
ประโยชน์ต่อสุขภาพของอาหารไทย
การใช้สมุนไพรสด พริก ผักและอาหารทะเลเป็นจำนวนมากทำให้อาหารไทยเป็นหนึ่งในอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ส่วนผสมเหล่านี้ส่วนใหญ่จะใส่เพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร อย่างไรก็ตามประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นสิ่งที่ได้เพิ่มเติมจากอาหารเหล่านี้
ส่วนผสมที่ใช้ในพริกช่วยเรื่องปอดและไซนัส นอกจากนี้ พริกยังช่วยต้านการอักเสบและสามารถช่วยในการลดความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลแอลดีแอล
การบริโภคกระเทียมยังช่วยลดความดันโลหิตและรักษาระดับคอเลสเตอรอล รวมทั้งช่วยย่อยอาหารและช่วยระบบภูมิคุ้มกัน
ข่าซึ่งเป็นผักตระกูลเดียวกับขิงสามารถช่วยรักษาอาการไม่สบายตอนเช้า อาการเมาคลื่นไส้และท้องเสียรวมถึงช่วยย่อยอาหาร ลดอาการอักเสบและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุงการทำงานด้านการรับรู้ รักษาผิวไหม้และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
อาหารทะเลเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยมรวมทั้งให้วิตามิน เกลือแร่และกรดไขมันโอเมก้า 3
นอกจากนี้ อาหารไทยยังมีผักใบเขียวจำนวนมากเช่น ผักบุ้งซึ่งไม่เพียงแต่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ แต่ยังเป็นแหล่งของใยอาหาร
อาหารไทยบนเกาะเต่า
ในขณะที่คุณอยู่บนเกาะเต่า การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารอร่อยๆทำได้โดยง่าย มีร้านอาหารมากมาย รวมถึงร้านอาหารท้องถิ่นให้คุณได้ลิ้มลอง
มี 3 สถานที่หลักที่มีห้องเรียนทำอาหารไทยบนเกาะเต่า ครัว Idjangs (www.idjangskitchen.com) เกาะเต่ามนตรารีสอร์ท (www.kohtaomontra.com) และ Thai cooking with Joy (www.thaicookingkohtao.com)
เรียนรู้การทำอาหารไทยบนเกาะเต่า
โดยปกติแล้วชั้นเรียนจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงและมีค่าใช้จ่าย 1,500 บาทต่อคนโดยรับสูงสุด 6-9 คนต่อคลาสเรียน ขึ้นอยู่กับโรงเรียนที่คุณเลือกเรียน คุณจะได้เรียนรู้การทำอาหาร 3-5 จานและโรงเรียนส่วนใหญ่มีสองคลาสเรียนต่อวัน
สามารถจองคลาสเรียนส่วนตัวในบางโรงเรียนและสามารถรองรับจำนวนคนเท่ากันกับคลาสเรียนที่ใช้ร่วมกัน คลาสเหล่านี้อาจใช้เวลานานขึ้นเล็กน้อยและเวลาเริ่มเรียนมีความยืดหยุ่นกว่า
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียนทำอาหารไทยบนเกาะเต่า โปรดติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆและให้เราช่วยตอบคำถามของคุณ
คำถามที่พบบ่อย
ต้องจองคลาสเรียนทำอาหารไทยบนเกาะเต่าหรือเปล่า?
การทำอาหารไทยบนเกาะเต่าต้องจองคลาสเรียนล่วงหน้าเพื่อให้สามารถวางแผนในตารางการเดินทางของคุณได้ ติดต่อเราเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับแผนการเดินทางของคุณ
เรียนทำอาหารไทยบนเกาะเต่าราคาเท่าไหร่?
คลาสเรียนทำอาหารไทยบนเกาะเต่าคุ้มค่ามากด้วยหลักสูตรครึ่งวันและเรียนทำอาหาร 3 จาน ราคา 1,500 บาทต่อคน ติดต่อเราเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับแผนการเดินทางของคุณเพื่อเราสามารถจัดตารางเรียนให้คุณ
คลาสเรียนทำอาหารไทยใช้เวลานานเท่าไหร่?
การเรียนทำอาหารแต่ละคลาสจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง คลาสเรียนทำอาหารจะสอนให้คุณรู้จักส่วนผสมต่างๆ ที่ใช้ในการทำอาหารไทย เครื่องปรุง เครื่องเทศ
เรียนทำอาหารไทยประเภทไหนได้บ้าง?
มีเมนู 4 อย่างที่คุณสามารถเลือกทำอาหารในหลักสูตรครึ่งวัน รวมถึงอาหารหลากหลายเมนูที่คุณเลือกเรียนได้ระหว่างเรียนคลาสส่วนตัว
สำหรับหลักสูตรครึ่งวันคุณสามารถเลือกเรียนดังต่อไปนี้:
เมนูที่ 1: แกงปีนังไก่หรือหมู ผัดไทยกุ้งสด ปอเปี๊ยะทอด
เมนูที่ 2: ไก่ผัดขิง ผัดไทยกุ้งสด แกงมัสมั่นเต้าหู้หรือไก่
เมนู 3: ปอเปี๊ยะทอด แกงมัสมั่น ต้มข่าไก่
เมนูที่ 4: แกงเขียวหวาน ไก่ผัดขิง
เวลาเรียนทำอาหารไทยบนเกาะเต่า?
คลาสเรียนทำอาหารไทยเริ่มเวลา 09.30 น. หรือ 14.00 น. และใช้เวลาครึ่งวันรวมถึงการแนะนำการทำอาหาร การฝึกทำอาหาร การทำอาหารและการทานอาหาร