ข้อมูลปะการังฟอกขาวและเกาะเต่า

ปะการังเป็นสัตว์ที่น่าอัศจรรย์ ไม่ใช่เพียงแค่ยึดตัวเองเข้ากับก้นสมุทรแล้วปล่อยโครงสร้างหินปูนออกมา แต่เวลามากกว่าหมื่นปีที่ผ่านมาปะการังยังให้สิ่งมีชีวิตอื่นเข้ามาอาศัยอยู่ด้วย

สาหร่ายซิมไบโอติกที่เรียกว่าซูแซนเทลลีอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการัง พวกมันสังเคราะห์แสงสร้างน้ำตาลเป็นอาหารให้ปะการัง โดยสาหร่ายชนิดนี้สร้างอาหารให้ปะการังมากถึง 90% หรือมากกว่านั้นในบางกรณี

www.thefunkyturtle.com coral bleaching koh tao
Historical Coral Bleaching Episode

อุณหภูมิที่สูงขึ้น

เมื่ออุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นและอุ่นมากเกินไปหรือรังสียูวีทวีความรุนแรงมากเกินไป อาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับการเผาผลาญทำให้เนื้อเยื่อของปะการังเกิดความเสียหาย

ปะการังจึงจำเป็นต้องขับสาหร่ายออกไป แต่จริงๆแล้วพวกสาหร่ายเองมันไม่ได้ต้องการกำจัดสาหร่ายแต่ต้องการให้ตัวเองสามารถอยู่รอดได้ในระยะสั้น

สภาวะเช่นนี้ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาว หากอุณหภูมิของน้ำทะเลเย็นลงในอีกไม่กี่สัปดาห์สาหร่ายซูแซนเทลลีจะกลับมาใหม่ได้อีก อย่างไรก็ตามหากอุณหภูมิของน้ำทะเลยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง ภาวะฟอกขาวจะไม่หายไปและปะการังจะตายในที่สุด

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าแนวปะการังมีความอ่อนไหวเป็นพิเศษต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล ภาวะฟอกขาวเกิดขึ้นเป็นประจำในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น

www.thefunkyturtle.com coral bleaching events
Effects of Coral Bleaching

ผลกระทบปะการังฟอกขาวรอบเกาะเต่า

น้ำทะเลเขตร้อนที่อบอุ่นรอบเกาะเต่า เราได้พบภาวะฟอกขาวที่รุนแรงมากในปีพ.ศ. 2553

ปะการังบางส่วนของอ่าวฉลามยังไม่ฟื้นจากปรากฎการณ์ครั้งนี้ สามารถพบเห็นได้ในพื้นที่ของอ่าว

ตั้งแต่นั้นมา แนวปะการังส่วนใหญ่ของโลกได้ประสบกับภาวะฟอกขาวอย่างกว้างขวางโดยมีการบันทึกภาวะฟอกขาวของปะการังทั่วโลกระหว่างปีพ.ศ. 2558 – 2560

ในระหว่างการเกิดภาวะฟอกขาวของปะการัง เกาะเต่าไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นๆทั่วโลก และเราหวังว่าเราจะไม่เจอปรากฎการณ์นี้อีกนาน

www.thefunkyturtle.com coral bleaching events on koh tao
Coral Bleaching Events

การฟื้นฟูจากปะการังฟอกขาว

น่าเสียดายที่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าปะการังฟอกขาวเกิดขึ้นบ่อยขึ้นและมีความเป็นได้ที่อาจรุนแรงมากขึ้นในธรรมชาติ

ด้วยเวลาในการเกิดปะการังฟอกขาวเกิดขึ้นได้สั้นลงและไวขึ้น สิ่งที่ท้าทายสำหรับแนวปะการังคือการมีเวลามากพอที่จะฟื้นฟู

ปัจจัยอื่นๆ จำนวนมากรวมถึงมลพิษทางน้ำและโรคภัยสามารถทำให้ปะการังระคายเคืองจนทำให้พวกมันต้องขับสาหร่ายซูแซนเทลลีออกไป

อุณหภูมิของน้ำมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 1 องศาเซลเซียส สูงกว่าค่าเฉลี่ยในการทำลายแนวปะการังซึ่งอาจนำไปสู่การฟอกขาว

www.thefunkyturtle.com coral bleaching effects thailand
Effects & Recovery of Coral Bleaching

การติดตามผลขององค์กร Reef Check Survey ของแนวปะการัง

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการติดตามผลของแนวปะการังองค์กร Reef Check นักวิจัยทำการวัดผลกระทบของปะการังฟอกขาวและปัจจัยอื่นๆ ต่อแนวปะการังทั่วโลก

สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้จัดการแนวปะการังเรียนรู้วิธีที่จะจัดการกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อปะการัง